การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม

การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม

การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม

มีชื่อสามัญ Giant Freshwater Prawn

ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrobra chium rosenbergii de Man

มีชื่อเรียกที่รู้จักกันหลายชื่อคือ กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งแห กุ้งใหญ่ และภาคใต้เรียกแม่กุ้งเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ มีราคาแพง

แหล่งที่อยู่อาศัย

กุ้งก้ามกรามอาศัยในแหล่งน้ำจืด ซึ่งมีทางน้ำไหลติดต่อกับน้ำทะเล จึงสามารถดำรงชีพได้ทั้งในน้ำกร่อยและน้ำจืด เคยมีชุกชุมในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง ทางภาคใต้พบที่แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี โดยเฉพาะในทะเลสาบสงขลาและพัทลุง มีชุกชุมมากที่สุด ความอุดมสมบูรณ์ของกุ้งก้ามกรามในแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดลง เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น การทำการประมงมากเกินควร การทำการประมงผิดวิธี ปัญหาจากมลภาวะต่างๆ การเพิ่มขึ้นของประชากรดังนั้น การเพาะเลี้ยงเพื่อชดเชยจากธรรมชาติ ได้พัฒนาการขึ้นมาตามลำดับทำให้การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเป็นอาชีพหนึ่งซึ่งทำ รายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้ประสบผลสำเร็จนั้นต้องอาศัยความรู้ ความเอาใจใส่ พร้อมทั้งได้พันธุ์กุ้งก้ามกรามที่ดีและแข็งแรง

ปัจจัยในการเลือกสถานที่

การเลือกสถานที่นับว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมความสำเร็จ

1. คุณภาพดิน ควรเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนซึ่งจะช่วยเก็บกักน้ำได้ดีและคันดินไม่พังทลาย ง่าย ไม่ควรเป็นดินเปรี้ยวจัดเมื่อเก็บกักน้ำทำให้น้ำเป็นกรดซึ่งไม่เหมาะสมต่อ การเลี้ยง อาจทำให้กุ้งตายหมด

2. คุณภาพน้ำ แหล่งน้ำควรมีคุณภาพดี สะอาด ปราศจากสารเคมี สารพิษ ของเสียจากโรงงาน อุตสาหกรรม แหล่งชุมชน ยาฆ่าแมลง และแหล่งน้ำควรมีปริมาณเพียงพอต่อการสูบใช้ตลอดทั้งปี

การเตรียมน้ำเลี้ยงกุ้ง

ถ้าน้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งมีคุณภาพดีสามารถสูบน้ำลงเลี้ยงได้โดยตรง โดยไม่ต้องสูบฟักในบ่อพักน้ำเมื่อสูบน้ำเข้าบ่อควรกักน้ำไว้ในบ่อ 2-3 วัน เพื่อให้น้ำปรับสภาพเข้าสู่ภาวะสมดุลเสียก่อน สำหรับน้ำที่ใช้สูบเข้าบ่อเลี้ยง หากเป็นน้ำที่มาจากแม่น้ำลำคลองควร มีบ่อเก็บน้ำตากพักไว้ให้ธรรมชาติปรับสภาพน้ำให้มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อนแล้ว จึงสูบผ่านตะแกรงหรือผ้ากรองเพื่อลดปริมาณสารตกค้างและศัตรูกุ้งที่ปนมากับ น้ำ

การปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามลงเลี้ยง

เวลาที่ปล่อยพันธุ์กุ้งเลี้ยงดีที่สุดถึงเวลาเช้าเวลาเย็น โดยระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร วิธีการปล่อยต้องนำถุงพลาสติกที่บรรจุลูกกุ้งแช่ในบ่อประมาณ 20 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำหลังจากนั้นจึงเปิดถุงออกแล้วค่อยๆเติมน้ำในบ่อเลี้ยง ผสมกับน้ำในถุงให้เท่ากันก่อน การปล่อยกุ้งลงเลี้ยง การปล่อยกุ้งลงเลี้ยงทันทีอาจทำให้กุ้งช๊อคหรือตายเกือบหมดในขณะที่จะทำการ ปล่อยกุ้ง หากสามารถสูบน้ำเข้าบ่อบริเวณที่จะทำการปล่อยพันธุ์กุ้งได้จะช่วยให้กุ้งมี ความแข็งแรงมากขึ้น

อัตราการปล่อย

พันธุ์กุ้งที่จะปล่อยควรปรับให้อยู่ในสภาพน้ำจืดแล้วไม่ต่ำกว่า 2-3 วัน และไม่มีลักษณะขาวขุ่นของลำตัวคล้ายเม็ดข้าวเหนียว นอกจากนี้กุ้งที่จะปล่อยควรมีลักษณะเคลื่อนไหว ปราดเปรียวอัตราการปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10 ตัว/ตารางเมตร ซึ่งเป็นลูกกุ้งที่คว่ำแล้วหรือลูกกุ้งขนาด 1-2 เซนติเมตร ถ้าหากปล่อยประมาณ 30 ตัว/ตารางเมตร หรือ 48,000 ตัว/ไร่ นาน 3 เดือน จึงย้ายลงบ่อเลี้ยงในอัตรา 5-10 ตัว/ตารางเมตร

อาหารและการให้อาหาร

กุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์น้ำที่กินอาหารทุกชนิดแต่ที่ชอบคือ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์เช่น ปลาสด หอย เนื่องจากกุ้งมีทางเดินอาหารคือ กระเพาะและลำไส้สั้น ดังนั้น จึงควรให้อาหารในปริมาณน้อยแต่ให้บ่อยครั้งอย่างน้อยวันละ 2-4 ครั้ง โดยแบ่งให้ทีละส่วนจนครบปิมาณที่ให้ต่อวัน อัตราการให้อาหารลูกกุ้งในช่วงแรกประมาณ 30-40% ของน้ำหนักกุ้งเดือนแรกหลังจากนั้นลดลงมาเหลือ 3-5% ของน้ำหนักตัวกุ้งที่เลี้ยงต่อวันในเดือนที่ 3 ประมาณอาหารที่ให้ในเดือนแรกตามอัตราการปล่อยที่กำหนดประมาณ 0.5-1.0 กก./ไร่/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 1.0-2.0 กก./ไร่/วัน ในเดือนที่ 2 เนื่องจากกุ้งกินอาหารด้วยวิธีการแทะ ดังนั้นอาหารของกุ้งควรเป็นอาหารจมชนิดเม็ดหรือแท่งสั้นๆ เพื่อสะดวกในการกัดกินและคงสภาพในน้ำได้นานประมาณ 6-12 ชั่วโมง โดยไม่ละลายน้ำถ้าละลายน้ำง่ายจะทำให้ผิวพื้นบ่อกุ้งเสียง่ายน้ำที่ใช้ เลี้ยงคุณภาพไม่เหมาะสม ผลผลิตขั้นสุดท้ายของกุ้งลดต่ำเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงเวลา การให้อาหารควรให้อาหารกุ้งวันละ 2-4 ครั้ง ปกติกุ้งจะกินอาหารได้ดีและกลางคืน ดังนั้นอาจจะแบ่งอาหารให้เป็นช่วงเช้าเพียงเล็กน้อย และให้มากในเวลาตอนเย็นถ้าให้อาหารวันละ 2 มื้อ โดยให้ช่วงเช้า 3 ส่วน ช่วงเย็น 7 ส่วน อาหารที่ใหม่จะมีกลิ่นหอมชวนให้กุ้งกินอาหารได้ดี

การถ่ายเทน้ำในบ่อ

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามนั้นต้องมีการตรวจสภาพน้ำในบ่อเป็นประจำ โดยเฉพาะน้ำในบ่อที่เขียวจัด จะทำให้เกิดภาวะการขาดออกซิเจนซึ่งทำให้กุ้งตายได้ง่าย การแก้ไขต้องกระทำโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างรีบด่วน นอกจากนี้การถ่ายน้ำยังมีส่วนสัมพันธ์กับอายุขนาดของกุ้ง การเจริญเติบโตโดยน้ำใหม่จะกระตุ้นให้กุ้งลอกคราบ สำหรับการเลี้ยงช่วง 1-2 เดือนแรกอาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำแต่ใช้วิธีเพิ่มระดับน้ำทุกสัปดาห์ หลังจากนั้นในเดือนที่ 3 และถัดมาอาจมีการถ่ายเปลี่ยนน้ำเดือนละ 2-4 ครั้งโดยถ่ายน้ำครั้งละ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 2 ของน้ำในบ่อขึ้นอยู่กับสภาพน้ำในบ่อทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาล การถ่ายเทน้ำอาจจะทำควบคู่กับการใช้โซ่ลากก้นบ่อ 2-3 ครั้ง ต่อการถ่ายเทน้ำแต่ละครั้งเพื่อกำจัดของเสียก้นบ่อ ในกรณีก้นบ่อมีเศษอาหารและของเสียหมักหมมมาก วิธีนี้จะไม่เหมาะสมและเป็นอันตรายต่อกุ้ง การระบายน้ำก้นบ่อให้มากที่สุดอาจเสริมด้วยการดูดเลน หลังจากเลี้ยงกุ้งได้ 4-5 เดือนโดยทำ 1-2 เดือนต่อครั้ง ในช่วงที่ทำการสูบน้ำควรลดปริมาณอาหารที่ให้ลดลง 1-2 วัน เพราะกุ้งบางส่วนได้น้ำใหม่จะลอกคราบทำให้อ่อนแอไม่กินอาหารในวันนั้นๆท คุณค่าทางอาหารของอาหารกุ้งควรมีโปรตีน 20% หรือระหว่าง 17-25% การเพิ่มหรือลดอาหารที่ให้ต่อวัน ควรกระทำโดยการตรวจสอบการกินอาหารของกุ้งในแต่ละวันเสียก่อนว่าเหลือหรือไม่ ถ้าหมดจะต้องให้เพิ่มมากขึ้นแต่ต้องไม่มากเกินไปจนเหลือและเน่าเสีย การตรวจสอบการกระทำหลังจากให้อาหารไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง สำหรับฝนตกหรือมีอาการเปลี่ยนแปลงมากๆ หรือมีหมอกลงไม่ควรให้อาหารหรืออาจจะให้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย

ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ

ระยะการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดของกุ้งที่ตลาดต้องการ โดยทั่วไปหลังจากเลี้ยง 6 เดือน จะเริ่มทำการคัดขนาดและจับขายโดยคัดกุ้งขนาดใหญ่ที่มีอยู่ออกขาย เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มจับกุ้งจิ๊กโก๋ ถ้าพลาดและกุ้งตัวเมียออกขายก่อนเพื่อให้กุ้งตัวผู้ส่วนใหญ่ที่เหลือเจริญ เติบโตได้ดี หลังจากนั้นจะทำการจับในช่วง 1 เดือนครึ่ง – 2 เดือน ถ้ามีกุ้งน้อยควรวิดบ่อจับกุ้งขายให้หมดในการจับแต่ละครั้งควรใช้อวนขนาด ช่องตาประมาณ 4 เซนติเมตร เพื่อให้กุ้งที่มีขนาดเล็กลอดไปได้และลดการบอบช้ำ ในการจับให้ได้ผลดีเกษตรกรควรลดระดับน้ำให้เหลือประมาณ 50 เซนติเมตร พร้อมกับใช้อวนที่มีตีนอวนหนัก(ตะกั่วถ่วง) เชือกคร่าวบนเวลาลากจะใช้ไม้ไผ่ค้ำไว้โดยอาจเสียบกับต้นกล้วยที่ตัดมาทำทุ่น ลอย การจับกุ้งมักนิยมจับในช่วงเช้าเนื่องจากอากาศไม่ร้อนมาก

ในปัจจุบันนี้การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมีแหล่งใหญ่อยู่ในจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี และราชบุรีพื้นที่ฟาร์มที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามมีตั้งแต่ 1 ไร่ถึง 300 ไร่แต่ส่วนมากพื้นที่การเลี้ยงอยู่ในระหว่าง 10 ถึง 30 ไร่

การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม แต่เดิมนั้นต้องอาศัยพันธุ์กุ้งที่จับได้ตามแหล่งตามแหล่งธรรมชาติ ซึ่งมีปริมาณไม่พอเพียงสำหรับการเลี้ยง กรมประมงจึงได้เริ่มทำการทดลองเพาะฟักกุ้งก้ามกราม ทั้งนี้เริ่มทดลองครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยนายอารีย์ สิทธิมังค์ และคณะ ได้นำแม่กุ้งที่มีไข่แก่มาทดลองให้วางไข่ในตู้กระจกเป็นครั้งแรกได้สำเร็จ และได้ลูกกุ้งวัยอ่อนซึ่งมีชีวิตอยู่ไม่เกิน 2 สัปดาห์ก็ตายหมดในปี พ.ศ. 2505 ดร.เชา เวนลิง ซึ่งทำงานที่ปีนังประเทศมาเลเชียประสบผลสำเร็จในการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม โดยพบว่าสภาวะน้ำกร่อยคือ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออัตราการรอดการเจริญเติบโตและฒนาการของลูกกุ้งก้าม กรามจึงได้มีผลการทดลองกันใหม่ในประเทศไทยและประสบผลสำเร็จครั้งแรกโดยนัก วิชาการของสถานีประมงจังหวัดสงขลาชึ่งสามารถผลิตลูกกุ้งชุดแรกได้ 500 ตัวใน พ.ศ.2509 หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงเทคนิควิธีการเพาะฟักเเละอนุบาลเพื่อให้ผลผลิต ลูกกุ้งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใน พ.ศ. 2513โรงเพาะฟัก 2 แห่งของกรมประมงที่สงขลาและที่บางเขน กรุงเทพฯ ก็สามารถผลิตลูกกุ้งให้แก่ผู้เลี้ยงได้ถึง 692,000 ตัวโดยการอนุบาลลูกกุ้งในระยะแรก ๆ นั้นให้ไรแดงและอาร์ทีเมียเป็นอาหาร

ชีววิทยาของกุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกรามมีชื่อเรียกหลายชื่อเช่นกุ้งนาง, กุ้งหลวง, กุ้งก้ามเกลี้ยง, กุ้งแห, กุ้งใหญ่เป็นสัตว์ที่อยู่ใน phylum Arthropoda Class Crustacea SubclassMalacostraca มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Macrobrachium rosenbergii De man มีชื่อสามัญเรียกว่า Giant Freshwater Prawn กุ้งก้ามกรามเป็นกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ของประเทศไทย ตัวโตที่สุดเท่าที่เคยพบมีความยาวจากหัวถึงหางประมาณ 25 เซนติเมตร หนัก 470 กรัมพบที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ลักษณะทั่วไปของกุ้งก้ามกราม

ลักษณะภายนอกโดยทั่วไปของกุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามกรามมีลำตัวเป็นปล้อง ส่วนหัวและอกคลุมด้วยเปลือกชิ้นเดียวกัน ส่วนของลำตัวมีลักษณะเป็นปล้องๆมี 6 ปล้องกรีมีลักษณะโค้งขึ้นมีลักษณะหยักเป็นฟันเลื่อยโดยด้านบนมีจำนวนระหว่าง 13 – 16 ชี่ด้านล่างมีจำนวนระหว่าง 10-14 ชี่โคนกรีกว้างและหนากว่า ปลายกรียาวถึงแผ่นฐานหนวดคู่ที่ 2กุ้งก้ามกรามมีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกส่วนของโคนหนาแบ่งเป็น 3 ข้อปล้อง ปล้องที่ 3 แยกเป็นเส้นหนวด 2 เส้น หนวดคู่ที่สองยาวกว่าหนวดคู่ที่หนึ่งแบ่งเป็น 5 ข้อปล้องความยาวของแผ่นฐานหนวดคู่ที่สองยาวเป็น 3 เท่าของความกว้างแผ่นฐานหนวดคู่ที่สองขาเดินของกุ้งก้ามกรามมี 5 คู่ โดยขาคู่หนึ่งและที่สอง ตรงปลายมีลักษณะเป็นก้าม ส่วนคู่ที่สามสี่ ห้าตรงปลายมีลักษณะเป็นปลาย แหลมธรรมดา ขาเดินคู่ที่สองที่มีลักษณะเป็นก้ามนั้นถ้าเป็นกุ้งตัวผู้จะมีลักษณะใหญ่มาก โดยทั่วๆไปส่วนของก้ามทำทน้าที่ในการจับอาหาร ป้อนเข้าปากและป้องกันศัตรู ขาว่ายของกุ้งก้ามกรามมี 5 คู่ส่วนแพนหางมีลักษณะแหลมตรงปลายด้านข้างเป็นแพนออกไป 2 ข้าง ลักษณะของสี สีของกุ้งก้ามกรามโดยทั่วไปมีสีน้ำเงินอมเหลืองโดยเฉพาะขาเดินคู่ที่เป็น ก้ามและส่วนของลำตัวมีสีน้ำเงินเข้ม ปลายขามักเป็นชมพูอมแดง แพนหางตอนปลายมีสีชมพูอมแดงทั่ว ๆ ไป

การแพร่กระจาย

กุ้งก้ามกรามมีถิ่นกำนิดในทวีปเอเชีย พบทั่วไปในประเทศไทย พม่า เวียดนาม เขมร มาลาเซีย บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเคยมีรายงานว่าพบในมหาสมุทรอินเดีย ในประเทศไทยกุ้งก้ามกรามแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำจืด เช่น ภาคกลางพบอาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกงแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำปราณบุรี และแม่น้ำนครนายก เช่นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา ชัยนาท อ่างทอง นครสวรรค์ ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาครสมุทรสงคราม ภาคตะวันออกพบที่แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำระยอง จ.ระยอง และแม่น้ำเวฬุ จ.ตราด ส่วนภาคเหนือเคยพบกุ้งก้ามกรามที่แม่น้ำเมย ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำสาละวิน ที่อำเภอแม่สอด จ.ตาก นอกจากนี้ยังพบในที่ที่มีทางน้ำไหลขึ้นลงติดต่อกับทะเลในภาคใต้พบที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ทะเลสาบสงขลา พัทลุงชุมพร ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์

ความแตกต่างระหว่างกุ้งเพศผู้และเพศเมีย

กุ้งก้ามกรามที่ยังมีขนาดเล็กสามารถแยกเพศโดยดูลักษณะของขาว่ายน้ำคู่ที่สอง ถ้าเป็นกุ้งเพศเมียตรงปลายขาว่ายน้ำคู่ที่สอง ตรงปล้องสุดท้ายแยกออกเป็นแขนง 3 อัน โดยอันเล็กสุดอยู่ด้านใน ถ้าเป็นกุ้งเพศผู้ปลายขาว่ายคู่ที่สองแยกเป็นแขนง 4 อัน กุ้งที่มีขนาดโตสามารถแยกเพศผู้เพศเมีย โดยกุ้งที่ขนาดโตเต็มวัยตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียนอกจากนี้ก้ามของตัว ผู้มีขนาดใหญ่กว่าของตัวเมียอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่เปลือกหุ้มตัวส่วนท้องของตัวผู้จะแคบกว่าของตัวเมีย ลักษณะอื่น ๆที่ใช้แยกเพศกุ้งขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่ ได้แก่ ช่องเปิดสำหรับน้ำเชื้อของตัวผู้และช่องเปิดสำหรับไข่ของตัวเมียโดยตัวผู้ ช่องเปิดอยู่บริเวณโคนขาเดินคู่ที่ห้าส่วนตัวเมียช่องเปิดอยู่โคนขาคู่ที่ สาม

ระบบสืบพันธุ์

กุ้งก้ามกรามตัวผู้ต่อมผลิตน้ำเชื้อมีลักษณะเป็นพูแบน 2 พูขนาดกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ที่ปลายเชื่อมติดกัน ตำแหน่งที่ตั้งอยู่บนส่วนที่เป็นตับและตับอ่อนและอยู่ด้านล่างของหัวใจ ส่วนท้ายของต่อมผลิตน้ำเชื้อแต่ละพูมีท่อนำน้ำเชื้อมาบริเวณโคนขาเดินคู่ที่ ห้า และส่งต่อมายังถุงเก็บน้ำเชื้อซึ่งมีช่องเปิดออกภายนอกที่โคนขาเดินคู่ที่ ห้าทั้ง 2 ข้าง น้ำเชื้อของกุ้งก้ามกรามเพศผู้ไม่เคลื่อนไหว มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดขนาดกว้างประมาณ 7.5 ไมครอน และมีหางเล็ก ๆ ยาวประมาณ 12.5ไมครอน น้ำเชื้อตัวผู้จะถูกผลิตที่ด่อมผลิตน้ำเชื้อและนำมาเก็บที่โคนขาเดินคู่ที่ ห้าโดยมีผนังบาง ๆ หุ้มอยู่ในถุงเก็บน้ำเชื้อหนึ่ง ๆ จะพบถุงน้ำเชื้อประมาณ 2 ถุงกุ้งก้ามกรามเพศเมียรังไข่อยู่ตำแหน่งเดียวกับต่อมผลิตน้ำเชื้อของตัวผู้ ลักษณะเป็นพูแบน ๆ 2 พูเชื่อมติดกันทางด้านท้ายมีขนาดใหญ่จนบังส่วนของตับและตับอ่อนได้ทั้งหมดใน ช่วงมีไข่รังไข่จะขยายใหญ่คลุมส่วนหัว อก และหัวใจ ท่อนำไข่ทั้งสองข้างเป็นท่อโค้งมีช่องเปิดออกภายนอกที่โคนขาเดินคู่ที่สาม

การผสมพันธุ์วางไข่

กุ้งก้ามกรามสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ตลอดปี การผสมพันธุ์จะเกิดเมื่อตัวเมียลอกคราบและเปลือกยังอ่อนอยู่ตัวผู้จะเข้าผสม โดยให้น้ำเชื้อตัวผู้ชึ่งมีล้กษณะคล้ายสารเหนียวไปติดอยู่กับส่วนหน้าอก ระหว่างขาเดินของตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่ภายใน 2-3 ชั่วโมง หลังการผสมพันธุ์ ไข่ที่ปล่อยออกมาจะถูกผสมกับเชื้อตัวผู้ที่ติดอยู่ที่ส่วนอกแล้วไข่จะถูกนำ ไปเก็บอยู่

บริเวณส่วนท้องระหว่างขาว่ายน้ำ โดยขาว่ายน้ำจะทำหน้าที่โบก พัดน้ำให้ไหลผ่านเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ไข่ ไข่ที่ติดขาว่ายน้ำในระยะแรก ๆ มีสีเหลืองอมส้มมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 -0.8 มม. มีรายงานว่าไข่มีการพัฒนาไปจนมีอวัยวะครบทุกส่วนภายในเปลือกไข่ขณะเดียวกัน ถ้าสังเกตจากภายนอกจะเห็นสีของไข่เปลี่ยนแปลงไปจนกระทั่งระยะสุดท้ายเปลี่ยน เป็นสีเทาดำ และรูปร่างของกุ้งพับงอภายในเปลือกไข่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ชัดเจนใช้เวลา ประมาณ 17 – 21 วันขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำหลังจากนั้นจึงจะฟักเป็นตัว

การเพาะและอนุบาลกุ้งก้ามกราม

การเพาะกุ้งก้ามกรามนั้นมีปัจจัยโดยสังเขปดังนี้

การเลือกสถานที่

1)โรงเพาะฟักในอดีตที่ผ่านมาอยู่ใกล้แหล่งน้ำจืดและใกล้แหล่งน้ำเค็ม เนื่องจากการเพาะลูกกุ้งก้ามกรามในระยะแรกต้องใช้น้ำที่มีความเค็มระหว่าง 10-15 ส่วนในพันส่วนปัจจุบันจากการค้นคว้าและวิจัยของกรมประมงโดยการใช้น้ำนาเกลือ ที่มีความเค็มสูง(ระหว่าง 70-170 ส่วนในพันส่วน)ไปเจือจางกับน้ำจืดทำให้โรงเพาะฟักสามารถตั้งอยู่ในแหล่งที่ ไกลน้ำทะเลได้แต่ต้องใกล้แหล่งน้ำจืดโดยการลำเลียงน้ำที่มีความเค็มสูงดัง กล่าวข้างต้นไปใช้เพาะเลี้ยงลูกกุ้งก้ามกราม

2) ไฟฟ้า เป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะฟัก เช่น ใช้ในการทำงานของเครื่องเพิ่มอากาศในน้ำเครื่องสูบน้ำ โคมไฟ แสงสว่าง

ตู้เย็น ดังนั้นโรงเพาะฟักควรอยู่ในเขตที่มีไฟฟ้าผ่าน

3) โรงเพาะฟักควรอยู่ห่างจากแห่งอุตสาหกรรม และพื้นที่ที่มีสภาวะแวดล้อมเสื่อมโทรม

4) โรงเพาะฟักควรอยู่ใกล้แหล่งพ่อแม่พันธุ์

5) โรงเพาะฟักควรอยู่โนแหล่งที่มีการคมนาคมสะดวก

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเพาะฟัก

1) บ่อ บ่อที่ใช้ในการเพาะลูกกุ้งก้ามกรามส่วนมากใช้บ่อซีเมนต์ มีทั้งบ่อรูปทรงกลมและบ่อสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดและรูปร่าง

ของบ่อแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์จะประกอบด้วยบ่อดังต่อไปนี้

ก. บ่อพักน้ำโดยทั่วไปจะสร้างในลักษณะอเนกประสงค์ ขนาดที่นิยมใช้มีความจุประมาณ 3-5 เท่า

ของบ่อเพาะฟักหรือบ่ออนุบาล

ข. บ่อพักน้ำจืด บ่อพักน้ำเค็ม บ่อผสมน้ำส่วนมากจะใช้บ่อพักน้ำในการทำเป็นบ่อพักน้ำจืดน้ำเค็มและทำเป็นบ่อผสมน้ำ

ค. บ่อเพาะฟักและบ่ออนุบาลบ่อ บ่อจะมีขนาดประมาณ 2.5 ตัน รูปร่างของบ่อแล้วแต่ผู้ใช้ อาจเป็นบ่อคอนกรีตสี่เหลี่ยม หรือทรงกลมก็ได้ ถ้าเป็นบ่อทรงกลมก็มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 -3.0 เมตรความสูงประมาณ 70 – 100 ถ้าเป็นบ่อสี่เหลี่ยมผืนผ้าส่วนมากจะเป็นบ่อแผดมีขนาดความกว้าง 1.50 เมตรความยาวประมาณ 2.50- 5.0 เมตรผนังตรงกลางใช้ร่วมกันความสูงประมาณ 70 ชม. และสามารถใช้กระเบื้องปิดได้พอดีบ่อเพาะฟักและบ่ออนุบาลนั้นสามารถใช้ร่วม กันได้

ง. บ่อเพาะลูกไรน้ำเค็มส่วนมากใช่บ่อกลมคอนกรีตสูงประมาณ 60-70 ชม.เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80-100 ชม. หรืออาจใช้ถังไฟเบอร์ขนาดใกล้เคียงแทนก็ได้

ระบบการเพิ่มอากาศในน้ำ

ก. เครื่องเพิ่มอากาศในน้ำมี 3 แบบคือ เครื่องเพิ่มอากาศแบบสูบแทนที่เครื่องเป่าอากาศแบบหมุน (Roots Blower) เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) ขนาดของเครื่องที่ใช้ให้เหมาะสมกับโรงเพาะฟัก

ข. การเดินท่อลมในโรงเพาะฟัก โดยทั่วไปใช้ท่อ พีวีซี. วางต่อจากเครื่องเพิ่มอากาศในน้ำโดยท่อหลักต่อจากเครื่องเพิ่มอากาศในน้ำ ควรมีขนาดเท่ากับท่อลมที่ต่อจากเครื่องเพิ่มอากาศในน้ำ

เครื่องสูบน้ำ โดยทั่วไปมีหลายรูปแบบจะใช้ขนาดใดขึ้นกับขนาดของกิจการ ลักษณะการใช้งานและความสะดวกในการบำรุงรักษา เช่น โรงเพาะฟักขนาดเล็กอาจใช้เครื่องสูบน้ำที่ฉุดด้วยมอเตอร์หรือใช้เป็นเครื่อง ปั๊มหอยโข่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้วก็ได้ ถ้าเป็นโรงเพาะฟักขนาดใหญ่ใช้ปั๊มหอยโข่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว และถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำปริมาณมากควรเพิ่มจำนวนเครื่องสูบน้ำซึ่งจะสะดวกกว่า ในการใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่โรงเพาะฟักที่อยู่ไกลทะเล เครื่องสูบน้ำส่วนมากจะใช้เป็นเครื่องสูบน้ำชนิดจุ่ม (Submersible pump)ซึ่งใช้งานได้อเนกประสงค์ปกติจะใช้เครื่องสูบน้ำชนิดจุ่มขนาด 2 นิ้ว 1 เครื่อง สำหรับสูบน้ำจืดจากแหล่งน้ำมาเก็บในบ่อพักน้ำ หรือใช้ในการสูบน้ำมาผสมกันให้ได้ความเค็มที่ต้องการ นอกจากนี้ยังต้องมีเครื่องสูบน้ำขนาด 1 นิ้ว ใช้สำหรับสูบน้ำผ่านผ้ากรองเพื่อกรองน้ำในบ่ออนุบาลและบ่อเพาะฟัก

เครื่องตรวจสอบคุณสมบัติบางประการของน้ำ

ก. เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ pH meter มีหลายแบบและมีขายตามร้านขายเครื่องมือวิทยาศาสตร์ บางชนิดก็เป็นแบบกระดาษวัดหรือบางชนิดใช้เป็นน้ำยาหยด แล้วเทียบสีแสดงว่าเป็นกรด-ด่าง เครื่องวัดความเป็นกรดด่าง มีประโยชน์ในการวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำที่ใช้ในการเพาะฟัก ค่าที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 7.5-8.5

ข. เครื่องวัดความเค็มเป็นการวัดความเค็มโดยใช้ระบบการหักเหของแสง

(1) Salinometer เป็นเครื่องวัดความเค็มของน้ำโดยอาศัยระบบการหักเหของแสง ใช้สำหรับวัด

ความเค็มของน้ำที่ใช้ ในการเพาะฟักกุ้ง ปกติความเค็มของน้ำที่ใช้ในการเพาะกุ้งก้ามกรามอยู่ในช่วง 10-15 ส่วนในพัน ในการเริ่มต้นเพาะฟัก

(2) ใช้วิธีทางเคมีโดยการนำน้ำที่ต้องการวัดความเค็มมาไตเตรตด้วยสารเคมี แล้วคำนวณเป็นค่าความเค็มที่ต้องการทราบ

(3) ไฮโดรมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดความเค็มโดยอาศัยค่าความถ่วงจำเพาะและอุณหภูมิของน้ำ แล้วคำนวณเปลี่ยนเป็นค่า

ความเค็มของน้ำ

ค. เครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermometer) ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิในบ่อเพาะฟักปกติ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเพาะกุ้งก้ามกรามอยู่ในช่วง 28-31 องศาเซลเซียส

สารเคมีที่ใช้ในการเพาะฟักกุ้งก้ามกราม

ก. แคลเซียมไฮโปรคลอไรต์ ใช้สำหรับฆ่าเชื้อทำความสะอาดอุปกรณ์ในโรงเพาะฟักและฆ่าเชื้อโรคในน้ำก่อนที่จะไปใช้

ข. ฟอร์มาลิน ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคในโรงเพาะฟัก ฆ่าโปรโตซัวและพยาธิภายนอกที่เกาะตามตัวกุ้ง

ค. วัสดุปูน เช่น ปูนขาว ใช้สำหรับปรับความเป็นกรด-ด่าง เพื่อให้น้ำมีคุณภาพเหมาะสมในการเพาะฟักกุ้งก้ามกราม

ง. ยาปฏิชีวนะซึ่งในในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบยคทีเรียได้แก่ ออกซีเตตร้าซัยคลิน คลอแรมฟินิคอล อิริธมัยซิน (ยาปฏิชีวนะจะใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ห้ามใช้พร่ำเพรื่อ)

วิธีการและขั้นตอนในการเพาะฟัก

การเตรียมบ่อเพาะฟัก

ในการเพาะเตรียมบ่อเพาะฟักนั้นต้องมีการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้เพาะ ฟักตั้งแต่บ่อพาะฟัก รางน้ำทิ้งภายในโรงเพาะฟัก ถังเพาะลูกไรน้ำเค็ม บ่อพักน้ำบ่อผสมน้ำ บ่อเก็บน้ำโดยบ่อพักน้ำต้องล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง บ่อเพาะฟักต้องล้างให้สะอาดตากให้แห้งแล้วใช้ผงแคลเซียมไฮเปอร์คลอไรต์เข้ม ข้นผสมน้ำจืดราดให้ทั่วทั้งบ่อเพาะฟักและรางน้ำในโรงเพาะฟัก ส่วนอุปกรณ์พวกผ้ากรองน้ำ หัวทราย สายลม หลังจากทำความสะอาดแล้วตากให้แห้ง เสร็จแล้วมาแช่ในน้ำยาฟอร์มาลินเข้มข้นทิ้งไว้ 2-3 วัน เอามาล้างออกด้วยน้ำจืดสะอาด เอาไปตากแดดให้แห้งสนิทแล้วเก็บไว้ในที่ร่ม ก่อนจะนำไปใช้ควรล้างด้วยน้ำจืดที่ผ่านการฆ่าเชื้อทำความสะอาดอีกครั้ง

การเตรียมน้ำสำหรับใช้เพาะกุ้ง

ใช้น้ำทะเลหรือน้ำนาเกลือ น้ำเป็นน้ำสะอาดมีคุณสมบัติเหมาะสม ก็สมารถนำมาใช้ได้ทันที ถ้าไม่แน่ใจว่าสะอาดก็ควรจัดการใช้น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเสียก่อนซึ่งมี อยู่หลายวิธี การกรองน้ำด้วยเครื่องกรองน้ำขนาดต่าง ๆ หรือการใช้สารเคมี เช่น แคลเซียมไฮเปอร์คลอไรต์ฆ่าเชื้อโรคในน้ำและทำให้สารแขวนในน้ำตกตะกอนโดยใช้ ประมาณ 30- 50 กรัม/น้ำ 1 ตัน ส่วนน้ำจืดจากแหล่งน้ำจืดใช้ผลแคลเซียมไฮเปอร์คอลไรด์เพื่อฆ่าเชื้อโรคเช่น เดียวกัน เปิดลมเป่าเพื่อให้คลอรีนกระจายให้ทั่วทิ้งไว้ 2-3 วัน เสร็จแล้วตรวจสอบว่าคลอรีนหมดหรือยังโดยใช้น้ำยา โอโธ-โทลิดีน Q-TOLIDINE โดยหยดน้ำยา 2-3 หยดลงในน้ำที่ต้องการตรวจสอบ ถ้าน้ำนั้นมีคลอรีนหลงเหลืออยู่จะมีสีเหลืองปรากฏขึ้นหรือมีสีเหลืองเข้ม แสดงว่าคลอรีนเหลืออยู่มาก ถ้ามีสีเหลืองอ่อนแสดงว่าคลอรีนใกล้จะหมด ถ้าไม่มีสีแสดงว่าคลอรีนหมดแล้ว ปิดลมเพื่อให้สารแขวนลอยตกตะกอนประมาณ 24 ชั่วโมง เสร็จแล้วผสมน้ำทะเลหรือน้ำนาเกลือกับน้ำจืด ให้ได้ความเค็มประมาณ 10-15 พีทีที.บ่อที่เพาะลูกไรน้ำเค็ม

การเตรียมแม่กุ้งที่จะนำมาเพาะ

แหล่งที่มาของแม่กุ้งมี 2 แหล่ง คือ จากธรรมชาติและจากบ่อเลี้ยงโดยคัดแม่กุ้งที่มีไข่แก่ติดท้องใกล้จะฟักเป็น ตัวโดยสังเกตจากสีไข่ของแม่กุ้ง ไข่อ่อนจะมีสีส้มถ้าไข่แก่จะมีสีเทาดำ แม่กุ้งที่นำมาให้วางไข่ควรเลือกแม่กุ้งที่มีขนาดใหญ่ นำแม่กุ้งไปใส่ในบ่อเพาะที่น้ำเค็ม 10-15 พีทีที. ระดับน้ำ 40 ซม. พื้นที่ 10 ตารางเมตรใช้แม่กุ้งประมาณ 2-3 กก. ให้แม่กุ้งวางไข่ทิ้งไว้ 1 คืน ย้ายแม่กุ้งไปวางไข่อีกบ่อหนึ่งเสร็จแล้วกระจายลูกกุ้งออกไปอนุบาลยังบ่อ เพาะอื่น โดยให้ความหนาแน่น อยู่ประมาณ 100 ตัว/ลิตร ระดับน้ำประมาณ 50-70 ซม. ในกรณีที่แม่กุ้งมีตัวเพรียงเกาะติดมา ก่อนนำแม่กุ้งไปเพาะควรฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฟอร์มาลิน 50 พีพีเอ็ม.เป็นเวลา 3-6 ชั่วโมง

การเตรียมอนุบาลลูกกุ้ง

เมื่อลูกกุ้งฟักเป็นตัวได้ 2 วัน เมื่อเริ่มเข้าวันที่ 3 ก็ให้ลูกไรน้ำเค็มที่ฟักเป็นตัวเป็นอาหาร

การดูแลลูกกุ้งระหว่างการเพาะฟัก

ก. การทำความสะอาดบ่อเพาะฟัก หลังจากวันที่สามไปแล้วจะต้องทำการดูดตะกอนทำความสะอาดบ่อเพาะฟัก แล้วเติมน้ำให้ได้ระดับเดิม หลังจากวันที่ 7 เมื่อเริ่มให้อาหารไข่ตุ๋นต้องทำความสะอาดดูดตะกอนวันละครั้ง ขึ้นอยู่กับอาหารที่ให้

ข. การให้อาหาร ลูกกุ้งเมื่ออายุได้ 2 วัน อาหารที่ให้เป็นพวกไรน้ำเค็ม การให้ควรให้น้อย ๆ ประมาณ 4-5 ชม./ครั้ง เมื่อกุ้งกินไรหมดก็ให้เพิ่ม ลูกกุ้งจะกินไรจนมีอายุได้ 7 วันก็จะเริ่มให้อาหารไข่ตุ๋นโดยให้ทีละน้อย ๆ ฝึกให้ลูกกุ้งกินอาหารไข่ตุ๋นก่อน จนกระทั่งในเวลากลางวันให้ลูกกุ้งกินไข่ตุ๋นอย่างเดียว ส่วนในช่วงกลางคืนให้ลูกไรน้ำเค็มเป็นอาหาร

ค. การถ่ายน้ำ เมื่อเริ่มเข้าวันที่ 7 ที่ให้อาหารสำเร็จรูป (ไข่ตุ๋น) ก็จะเริ่มทำการถ่ายน้ำ การถ่ายน้ำจะถ่ายประมาณ 30-50 % โดยการถ่ายน้ำจะถ่ายประมาณ 2-3 วัน/ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำในบ่อเพาะกุ้งก้ามกราม

ง. การย้ายและคัดลูกกุ้งก้ามกราม ประมาณ 3 สัปดาห์ ลูกกุ้งจะเริ่มคว่ำเมื่อกุ้งในบ่อคว่ำได้ประมาณ 50 % จะทำการคัดลูกกุ้งที่คว่ำและไม่คว่ำออกจากกัน โดยคัดลูกกุ้งที่ยังไม่คว่ำออกและทำการอนุบาลต่อไปจนคว่ำหมดการอนุบาลลูก กุ้งหลังจากคว่ำ Juvenile การปรับน้ำเมื่อลูกกุ้งเริ่มคว่ำหมดจะปรับน้ำจืดลูกกุ้งหลังจากคว่ำแล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะทำการย้ายไปอนุบาลต่อโดยการอนุบาลมี 2 แบบ

(1) การอนุบาลในบ่อซีเมนต์ ใช้เวลาในการอนุบาลไม่เกิน 2 สัปดาห์ ความหนาแน่นที่ปล่อยลูกกุ้งก้ามกรามประมาณ 2,000 ตัว/ตารางเมตร อาหารที่ใช้อนุบาลได้แก่ ไข่ตุ๋น หรืออาหารเม็ดสำเร็จรูปเมื่อทำการอนุบาลได้ประมาณ 7-14 วัน ก็จะทำการบรรจุถุงหรือถังนำไปปล่อยเลี้ยงต่อไป

(2) การอนุบาลในบ่อดิน ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยนำกุ้งก้ามกรามที่คว่ำได้ 2-3 วันมาอนุบาลในบ่อดินโดยทำการตากบ่อให้แห้งเพื่อฆ่าเชื้อโรค ปรับความเป็นกรด-ด่าง ด้วยปูนขาวให้เหมาะสมแล้วนำน้ำเข้าบ่ออนุบาลระดับน้ำเริ่มแรกประมาณ 70 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้เกิดแพลงก์ตอนที่มีสีเขียวอ่อนหรือน้ำตาล อ่อนประมาณ 3-5 วันหลังใส่ปุ๋ย ก็นำลูกกุ้งไปปล่อยโดยปล่อยประมาณ 100,000 – 200,000 ตัว/ไร่ อาหารที่ใช่ช่วงแรกให้ไข่ตุ๋น แล้วเริ่มปรับเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ด หลังจากอนุบาลได้ 1-2 เดือน ก็ทำการย้ายไปเลี้ยงในบ่อดินอื่นต่อไป

การลำเลียงลูกกุ้งก้ามกราม

การลำเลียงลูกกุ้งจากบ่ออนุบาล ไปยังย่อเลี้ยงมี 2 วิธี

1) การบรรจุใส่ถุงพลาสติก กรณีลำเลียงไปไกล ๆ ถ้าเป็นลูกกุ้งคว่ำได้ประมาณ 7 วัน ถ้าเวลาที่ใช้ลำเลียงไม่เกิน 4 ชม. จะบรรจุพลาสติกขนาด 16″x 16″ ใส่น้ำประมาณ 4 ลิตร ใส่ลูกกุ้งประมาณ 2,000 ตัว อัดออกซิเจน ถ้าการลำเลียงใช้เวลามากกว่า 4 ชม. จะบรรจุถุงละ 1,000 ตัว ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ประมาณ22-25 องศาเซลเซียส อาจะใช้น้ำแข็งผสมขี้เลื่อยวางที่พื้นรถระหว่างลำเลียงและถ้าลำเลียงในช่วง กลางคืนซึ่งอุณหภูมิต่ำกว่าในเวลากลางวันจ่วยให้อัตรารอดตายสูงขึ้น

2) การลำเลียงระยะใกล้อาจใช้ถังไฟเบอร์ หรือถังพลาสติกขนาดประมาณครึ่งตัน หรือ 1 ตัน อัตราใส่ประมาณ 100,000-200,000 ตัว/ถัง ใช้เวลาในการลำเลียงไม่ควรเกิน 1 ชม. และมีถังแก๊สออกซิเจนเพื่อให้ออกซิเจนแกลูกกุ้งในขณะลำลียง เมื่อลำเลียงถึงบ่อเลี้ยงก็นำน้ำจากบ่อมาใส่ในถังลำเลียงเพื่อปรับอุณหภูมิ เสร็จแล้วใส่สายยางขนาด 1 นิ้ว ดูดลูกกุ้งลงบ่อเลี้ยง

ปัญหาที่เกิดระหว่างการอนุบาล

คุณสมบัติของน้ำในระหว่างการอนุบาลกุ้งก้ามกราม บางครั้งน้ำอาจมีกลิ่น เนื่องจากให้อาหารมากเกินไป หรือการดูดตะกอนทำความสะอาดไม่ดี เศษอาหารเหลือตกค้างทำให้เกิดก๊าซ เช่น แอมโมเนีย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กุ้งอ่อนแอ

อาหารและการให้อาหาร อาหารที่ให้ควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพและในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะการให้อาหารมากเกินไปจะทำให้น้ำเสียง่าย และเป็นสาเหตุให้กุ้งเป็นโรคความสกปรกของโรงเพาะฟัก เมื่อทำการฟักเป็นระยะเวลานานแล้วไม่ทำความสะอาดโรคกุ้งซึ่งเกิดจากสภาพแวด ล้อมในบ่อเพาะฟักไม่เหมาะสม หรือการจัดการไม่ดีพวกปริสิตและเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มักพบเกิดกับลูกกุ้งได้แก่

– พวกไฮโดรซัย เช่น Obelia

– พวกโปรโตซัว เช่น Zoothamnium sp.,Epistylis sp,. Vorticella sp., Acienta sp., Tokophrya sp.

– พวกแบคทีเรีย เช่น Vibrio sp., Aeromonas sp., Pseudomonas sp., Leucethrix sp.

– พวกรา เช่น Leginidium sp., Fusarium sp.

– พวกไวรัส เช่น MBV, BP, BMN

– พวก Red tide เช่น Gymmodinium sp., Gonelas sp., Noctiluca sp.

ที่มา

ใส่ความเห็น